บ้านท่าเรือ http://bantarue.siam2web.com/

สวัสดีครับชาวบ้านท่าเรือยินดีต้อนรับ

ประวัติของชนพื้นบ้าน

 

ชาวแสกเป็นชนพื้นบ้านจำพวกข่า  มีภาษาพูดเป็นของตนเอง  รูปร่างลักษณะเหมือนพวกข่า  ถิ่นเดิมของเผ่าแสกอยู่  บริเวณเมืองรอง  ซึ่งขึ้นกับกรุงใน ตอนกลางของประเทศเวียดนาม  ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าบ้านแสกในปัจจุบัน  เชื่อว่าถิ่นเดิม  ของแสกอยู่ใกล้กับญวน  ต่อมาจึงอพยพเข้ามาใกล้ลุ่มแม่น้ำโขงโดยเข้ามาอยู่ในลาว  แล้วอพยพข้ามแม่น้ำโขง  มาอยู่ฝั่งไทย  ในราวสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่ง  กรุงศรีอยุธยา  โดยได้เริ่มตั้งถิ่นฐานที่บ้านอาจสามารถ  อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  (ณรงค์  2526, น.3)

โดยปัจจุบันพบเผ่าแสกในอำเภอเมือง  นครพนม  และบ้านบะหว้า ต.ท่าเรือ  บ้านดอนสมอ  ต.ท่าบ่อ  บ้านเสียว ต.นาหว้า  บ้านท่าบ่อสงคราม  อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม 

                การแต่งกายของชาวแสก  ผู้ชายแต่เดิมไว้ผมโหย่ง ทำนองหลักแจวโบราณ  ชอบใส่ปลอกมีด  หรือทองเหลือง  โดยทำเป็นแหวนสวมนิ้วมือ  หรือไม่ทำจากหางม้า ถักเป็นหัวแหวนแทน  ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นย้อมครามและสีเปลือกไม้ต่างๆ  คอสวม  ลูกประคำ  สวมกำไลที่แขนและเท้าใส่ต่างหูระย้า  สวมเสื้อคับลำตัวแขนยาว  เครื่องประดับทำ  ทองเหลืองหรือทองแดง  ผมมัดรวมเป็นมวยไว้  ทางด้านหลัง(ณรงค์  2526  น.3)ชาวแสกนับถือศาสนาพุทธ  และมีความเชื่อประเพณีของตนเอง  ได้แก่  ประเพณีตรุษแสก  เรียกว่า 

"กิ๋นแตค"  หรือ  "กิ๋นแตคเดน"  โดยกำหนดให้จัดขึ้นในวันขึ้น  1-3  ค่ำ  เดือน  3  ของทุกปี  ประเพณีตรุษแสกมีจุดมุ่งหมาย เพื่อบวงสรวงศาลเจ้าองค์มู่ซึ่งเจ้าแสกเชื่อว่าเป็น  บรรพบุรุษที่ช่วยคุ้มครองรักษา  ชาวแสกให้ปราศจากอันตราย  ชาวแสกจะมีการนำอาหารและขนม  พร้อมอาหารใส่ภาชนะต่างๆ  รวมกัน  บริเวณศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน  เพื่อทำพิธีบวงสรวงโดย  "หมอเหยา"  หรือ  "เจ้าจ้ำ"  หรือ  "ก๋วนเจ๋า"  เป็นผู้นำทำพิธีจนเสร็จ  จากนั้น  ชาวบ้านจะรวมกันกินอาหารดื่มสุราและร้องรำทำเพลง  การละเล่นประเพณี  ตรุษแสก  คือ  เต้นสาก  ซึ่งคล้ายการเล่น  ลาวกระทบไม้ (ณรงค์  2526  น.3)

การแต่งกาย

                ไทยอีสาน  (ไทยลาว)  ชาย  ใส่เสื้อคอกลม  แขนสั้นสีดำมีแคบแดง  กางเกงขาทรงกระบอก  มีผ้าขาวม้าพาดพุง  หญิง  ใส่เสื้อคอกลมแขนยาวมีแถบแดง  นุ่งผ้าถุงสีดำ  คาดเข็มขัดสีแดง  สวมสร้อยเงิน  ตุ้มหูเงินเกล้าผมมวย  ผูกผ้าแดงที่ผม  หรือประดับดอกไม้  ถ้าเป็นหญิงสูงศักดิ์จะมีผ้าสไบและผ้าถุงถักทอด้วยดิ้นเงิน  และดิ้นทอเพิ่มไปด้วย

                ไทยญ้อ  (ไทญ้อ)  ชาย  ใส่เสื้อคอพวงมาลัยสีเขียว  นุ่งโจงกระเบนสีน้ำเงิน  มีผ้าสไบไหมสีน้ำเงินคล้องคอ  และมีผ้าสไบสีแดงคาดเอว  หญิง  สวมเสื้อสีบานเย็นแขนทรงกระบอก  นุ่งผ้าไหมมีเชิงเป็นตีนจก  มีเข็นขัดคาดเอว  และมีผ้าสไบแดงพาดไหล่

-        -

                ผู้ไทย  (ผู้ไท)  ชาย  นุ่งกางเกงขาก๊วย  สวมเสื้อหม้อห้อมสีน้ำเงิน  คอพระราชทานขลิบแดง  กระดุมทองหรือเงิน  ผ้าแพร่ลายเลงไหม(ผ้าขาวม้าไหม)มัดเอง  ประแป้ง  แต่งหน้า  มีดอกไม้ทัดหู  สวมกำไลเงินข้อมือและข้อเท้า  หญิง  นุ่งผ้าถุงสีน้ำเงิน  สวมเสื้อแขนกระบอกสีน้ำเงินขลิบแดงประดับด้วยกำไล  และสร้อยทอง  หรือเงิน  คาดสไบสีต่างๆ  ส่วนมากจะเป็นสีขาว

                ไทยโส้  (ไทโซ่)  ชาย  ใส่เสื้อหม้อห้อม  นุ่งโสร่งผ้าไหม  มีผ้าขาวม้าโพกหัว  และคาดเอว  หญิง  สวมเสื้อหม้อห้อมและนุ่งผ้าถุงสีดำเชิงผ้าถุงตีนจก  คาดเข็มคัดเป็นลวด

                ไทยแสก  (ไทแสก)  ชาย  สวมเสื้อหม้อห้อม  และนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำ  มีผ้าขาวม้าคาดเอว  และมีผ้าสไบคล้องคอ  หญิง  สวมเสื้อหม้อห้อมแขนยาว  นุ่งผ้าถุง  เชิงผ้าถุงเป็นตีนจก  คาดเข็มขัด  เป็นผ้าปักปลายด้วยดิ้นเงิน  ดิ้นทอง  และสไบ

                ไทยกระเลิง  แต่งกายคล้ายไทยแสก

                ไทยข่า  แต่งกายคล้ายไทยกระเลิง

การกินอยู่

                อาหารพื้นเมืองได้แก่  ข้าวเหนียว  ส้มตำ  ไก่ย่าง  ลาบ  ป่นปลา  ผักต้มจิ้มแจ่ว  แก่งอ่อม  สำหรับเจ้าชนบท  และกินสัตว์เกือบทุกชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่น  รสชาติของอาหารนิยมกินรสจัดมาก  คือ  เค็มจัด  เปรี้ยวจัด  และเผ็ดจัด  ไม่นิยมอาหารที่มีไขมันที่ใช้กะทิ  หรือมันหมู  การปลุกอาหารมักใส่หอมกระเทียม  กะปิ  ปลาร้า  การกินในครอบครัว  จะตั้งวงรวมกันกินทั้งหมด  ระหว่างการกินอาหารจะพูดคุยปรึกษาหาหรือกันในเรื่อยต่างๆ  ผู้อาวุโสส่วนมากจะแนะนำสั่งสอนให้ลูกหลานรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น  และการละเล่นให้ถูกต้อง  เป็นต้น

เผ่าไทยแสก 

               เดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองรองขึ้นกับกรุงเว้  ทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม  ต่อมาได้อพยพมาทางริมน้ำโขง  มาตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่างประเทศลาวและเวียดนาม  ต่อมาในสมัยอยุธยา  ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง  ชาวแสกได้อพยพข้ามแม่น้ำโขง  มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ป่าหวายโศก  ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า  บ้านอาจสามารถ  หรือเมืองอาจสามารถ  และต่อมาก็ได้โยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ต่างๆ  อีกในเขตอำเภอนาหว้า  อำเภอศรีสงคราม  และในประเทศลาว.

ภาษา

                ชาวไทยแสกบ้านบะหว้ามีภาษาแสกเป็นภาษาชุมชนที่ชาวบ้านพูดกันภาษาแสกไม่มีภาษาเขียน  เป็นภาษาพูด  ชาวบ้านรักษาภาษาแสกได้เป็นอย่างดี  โดยใช้ภาษาแสกล้วนๆ พูดกันในครัวเรือนมีอยู่ร้อยละ  61.6  และใช้ภาษาแสกพูดปนภาษาอื่นอีกร้อยละ  38.4  แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านเกือบทุกคนพูดภาษาแสกได้

ประเพณีและวัฒนธรรม

                ชุมชนชาวพันธุ์แสกบ้านบะหว้าปฏิบัติตามประเพณี  12  เดือน  ตามหลักของพุทธศาสนาคล้ายกับๆกับชาชาติพันธุ์ไทยลาว  แต่ก็มีประเพณีที่แปลกแตกต่างกับชนชาติพันธุ์อื่นที่ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด  คือ  การรับประทานอาหารต้องให้ผู้อาวุโสรับประทานก่อน  การครองตนของผู้ที่เป็นหญิงหม้ายจะต้องไม่แต่งงานใหม่  และการแต่งงานแต่เดิมใช้เวลา  2  วัน  ได้เปลี่ยนมาเป็นวันเดียว

ภาษาไทยแสก  เปรียบเทียบภาษาไทยกลาง  ภาษาไทยลาว

ประมวลคำภาษาไทยแสก

ไทยแสก                             ไทยกลาง                              ไทยลาว

หมวก                                                หมวก                                                    หมวก

ห่อย                                                   หวี                                                  หวี

แว่นปรา                                               แว่นตา                                               แวนตา

ด๊อก                                                   ต่างหู                                                ตุ้มหู

เกิบ                                                   ร้องเท้า                                               เกิบ

เผี้ย                                                   เสื้อ                                                   เสี่ย

ซิ่น                                                    กระโปร่ง                                              กะโป่ง

ตร๋าว                                                  มีด                                                    มีด

บ่วง                                                   ช้อน                                                   ซ่อน

โถ่ย                                                   ถ้วย                                                   ถ่วย

เพรียกวี                                               เตาไฟ                                                 เตาไฟ

วี                                                     ไฟ                                                      ไฟ

ตะโหมย                                              ทัพพี                                                   ทัพพี

เทิด                                                  เขียง                                                     เขียง

หรุ่ม                                                  ครก                                                      คก

กะต่า                                                 ตะกร้า                                                    กะต่า

อุ๊นำ                                                 โอ่งน้ำ                                                    แองน้ำ

ขะหลอบ                                             ผ้าห่ม                                                     ผ่าฮม

ปี้น                                                  เสื่อ                                                        สาด

เห้น                                                 หมอน                                                     หมอน

ดี๋จื๋อ                                                ดีใจ                                                        ดีใจ

หยัก                                               โกรธ                                                        เคียด

มัก                                                 รัก                                                          หัก

แหนง                                              ฟัน                                                         แข่ว

เก้ม                                                แก้ม                                                        แก้ม

ภาษาไทยแสก  เปรียบเทียบภาษาไทยกลาง  ภาษาไทยลาว

ประมวลคำภาษาไทยแสก

ไทยแสก                              ไทยกลาง                               ไทยลาว

เจ้าซ่อทูเนอ                                       ท่านชื่ออะไร                                      เจ้าซื่อหยัง

บ้านยู่มะเหน่อ                                     บ้านอยู่ไหน                                       บ้านอยู่ไส

เจ้าได๊ไปเหน่อ                                     ท่านจะไปไหน                                    เจ้าสิไปไส

ฮอยหล้อทังเจ้า                                     ฉันคิกถึงคุณ                                    ข่อยคิดฮอดเจ้า

เจ้าหม่าแต่เหน่อ                                  ท่านมาจากไหน                                   เจ้ามาแต่ไส

เจ้าฮุนกับเด่อ                                        ท่านมากับใคร                                      เจ้ามากับไผ่

กินเหง่าแล้วห่ะ                                   กินข้าวหรือยัง                                      กินเข่าแล้วบ่

กินเหง่าจอทา                                       กินข้าวกับอะไร                                   กินเข่ากับหยัง

 

อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.tharua.org



                               
Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 5,567 Today: 3 PageView/Month: 19

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...